ความท้าทายของการจัดการภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ

ในสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทำให้หลายๆ ประเทศมีความหวาดกลัวว่าตัวเองจะได้รับผลกระทบในครั้งนี้ จากสิ่งที่เกิดในเวลานี้ทำให้บริษัทและอุตสาหกรรมประสบปัญหากันอย่างมากไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านการเงิน รวมทั้งสถาบันการเงินใหญ่ๆในสหรัฐก็ได้ปิดตัวลง อย่างประเทศอินเดียที่เศรษฐกิจกำลังไปได้ดีก็ได้รับผลกระทบกับปัญหาในครั้งนี้ ทำให้หลายๆ คนเห็นว่าเศรษฐกิจในตอนนี้เริ่มที่จะไม่ดีและแหล่งเงินทุนต่างๆ ที่เคยปล่อยเงินกู้ให้อย่างวอลล์ สตรีท ที่ทุกคนๆ รู้จักมากว่า 50 ปี ยังปิดตัวลง ทำให้ผู้คนต่างพากันคาดการณ์กับเหตุการณ์ที่แตกต่างกันไป รวมถึงอนาคตข้างจะเกิดอะไรขึ้นกับสถานการณ์ที่มีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ทำให้ผู้บริหารหลายๆ ในตอนนี้ต่างพากันกังวลกับปัญหาบางคนถึงกับกลัวไม่กล้าที่จะออกมาทำอะไร และมีนักธุรกิจคนหนึ่งได้พูดเกี่ยวเหตุการณ์นี้ว่า “ สิ่งต่างๆ กำลังร่วงลงมาจากหน้าผาอย่างไม่รู้ตัว ”และ“ไม่เคยมีใครเคยเห็นพายุหมุนแบบนี้มากก่อน” เมื่อสถานการณ์เป็นแบบนี้ยังมีผู้บริหารบางคนได้เตรียมตัวที่รับมือกับปัญหาทางเศรษฐกิจในครั้งนี้ด้วยการปรับปรุงธุรกิจของตัวเองโดย การเปลี่ยนวิกฤติในครั้งนี้มาเป็นโอกาสเพื่อจะให้เข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ดี

เพียงคำเดียวเท่านั้น :เงินสด
ในสภาวะเศรษฐกิจไม่ดีเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ตัวผู้บริหารเองต้องปรับแนวคิดของตัวเองใหม่และดูว่าธุรกิจของตัวเองในตอนนี้เป็นอย่างไร รวมถึงแผนการรองรับกับเหตุการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมในเหตุการณ์นี้ หากตัวผู้บริหารได้มีการเตรียมพร้อมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็จะสามารถพาเราผ่านพ้นไปได้ และสิ่งสำคัญสำหรับตัวผู้บริหารต้องรีบตรวจสอบสถานะทางการเงินบริษัทของตัวเอง และการตรวจสอบสามารถทำได้ 3 ทาง คือ
1. กำไรจากการดำเนินงาน
2. เงินทุนหมุนเวียน
3. สินค้าคงคลังและลูกหนี้
เมื่อตรวจสอบแล้วตัวผู้บริหารต้องมีการติดตามแหล่งเงินสดทั้งสามนี้ด้วย เพราะเป็นสิ่งสำคัญกับบริษัทในการประมาณการลงทุนในส่วนต่างๆ ภายในบริษัทถ้าผู้บริหารไม่ให้ความสนใจอาจเป็นเหมือนกับดังตัวอย่าง
“อุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐช่วงปี 2008 ประสบกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดรถอเนกประสงค์เอสยูวี รถประหยัดน้ำมัน ที่ตกเป็นเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายและสถาบันการเงินไม่ปล่อยเงินกู้ให้ และยอดการขายรถยนต์และรถกระบะตกลงมา ทำให้เจนเนอรัลมอเตอร์มีเงินสดเข้าบริษัทน้อยและเงินสดส่วนใหญ่ไปจมอยู่กับสินค้าคงคลังและไม่สามารถกู้ยืมเงินได้เพราะมีความเสี่ยงสูง และในตอนนั้นได้นำสินทรัพย์ที่ไม่สำคัญออกมาขายจนหมด”
ทำให้เห็นว่าผู้บริหารอย่าประเมินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าไม่รุนแรง ผลที่ออกมาทำให้บริษัทต้องล้มละลายลง อีกทั้งผู้บริหารจะต้องให้สนใจกับสภาพคล่องในจุดคุ้มทุนของบริษัทในอนาคตข้างหน้าในช่วง 1-3 ปี ด้วย

คิดใหม่ในเรื่องการเติบโต
มีผู้บริหารหลายคนคิดว่าบริษัทจะอยู่รอดได้จะต้องมีการแย่งส่วนแบ่งการตลาดของคู่แข่งและถ้าตัวผู้บริหารคิดแบบนี้จะต้องมีกำไร ถึงจะทำให้กระแสเงินสดมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งที่ตัวผู้บริหารคิดในตอนนี้เป็นความคิดที่ผิด การที่บริหารบริษัทให้เติบโตได้ผู้บริหารต้องมีแนวความคิดแบบใหม่ ๆไม่ใช่แย่งส่วนแบ่งทางการตลาดของคู่แข่งมาแก้ปัญหาที่ดีให้กับบริษัท ซึ่ง ริช นอทล์ (Rich Noll) แห่งเอนส์แบนรด์อิงค์ ได้พูดว่า “คุณจำเป็นต้องตัดสินใจจากการได้เล็กๆ น้อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณต้องเสียหายอย่างหนัก ”
และส่วนเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นภายในบริษัท เช่น เรื่องของเงินสด ยอดขายลดลงทำให้มีความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ ตัวผู้บริหารเองจะต้องกล้าหันหน้ากับปัญหา และกล้าตัดสินใจเลือกว่าบริษัทจะต้องตัดอะไรออกไปบ้างที่ไม่จำเป็นและตัวผู้บริหารจะต้องเลือกผลิตสินค้าต่อไป เพื่อที่บริษัทจะให้ได้ปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์และปรับกระบวนการทำงานต่างๆ และจัดลำดับขั้นการบริหารให้ง่ายขึ้น เมื่อผู้บริหารเลือกที่จะแก้ปัญหาในลักษณะแบบนี้บริษัทอาจมีลูกค้าน้อย สินค้าในบริษัทน้อย และมีพนักงานน้อย แต่ทำให้บริษัทมีการดำเนินงานที่ความเข้มแข็งมากขึ้นกว่าเดิมและสามารถเปลี่ยนสถานการณ์ที่ไม่ดีในตอนนี้ให้กลายมาเป็นโอกาส ทำให้บริษัทยืนอยู่เหนือคู่แข่งได้

การจัดการแบบเข้มข้น
ผู้บริหารต้องเปลี่ยนวิธีบริหารงานของตัวเองใหม่ เพราะการบริหารงานในตอนนี้อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน เพื่อที่ปรับให้เข้ากับเหตุการณ์ ที่เรียกว่า การจัดการอย่างเข้มข้น คือตัวผู้บริหารเองจะต้องลงมาดูข้อมูลส่วนต่างๆ กับฝ่ายปฏิบัติการและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการพร้อมกับหาข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาวิเคราะห์อย่างละเอียดและตามข่าวสารจากภายนอกอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันกับเหตุการณ์ รวมทั้งวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบริษัท และตัวอย่างของข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น
“การเฝ้าสังเกตของวอล – มาร์ท ที่รายงานยอดขายสินค้า สำหรับเด็กอ่อนนั้นขึ้นอยู่กับวันจ่ายค่าแรง พฤติกรรมดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคตกอยู่ในภาวะลำบาก และอาศัยอยู่ได้ด้วยเงินค่าแรงแบบงวดต่องวด ”
นอกจากนั้นแล้วผู้บริหารต้องนำข้อมูลได้จากส่วนต่างๆ นำมาพูดคุยกับหุ้นส่วนในบริษัท เพื่อหาข้อสรุปต่างๆ รวมกันเพื่อเตรียมการและมองหาแหล่งเงินกู้พร้อมกับวิธีการที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับบริษัท เมื่อมีการประชุมพูดคุยกับส่วนต่างๆ แล้ว อาจจะทำให้ผู้บริหารได้แนวความคิดมาประกอบการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้นทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจและลงมือได้ทันที

การควบคุมในแบบเรียลไทม์
การที่บริษัทจะทำเป้าประจำปีและมีการวัดผลเป็นไตรมาสเป็นการวางแผนการดำเนินงานที่ดี เพื่อที่จะได้รู้ว่าสถานะของบริษัทว่าเป็นอย่างไร มีการดำเนินงาน การปฏิบัติงานเป็นไปตามที่วางไว้หรือไม่ ทำให้บริษัทสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ได้เพื่อที่จะได้ติดตามความก้าวหน้าของบริษัทได้ และตัวผู้บริหารเองต้องมีการตรวจสอบทางการเงินกับพนักงานการเงินอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อที่จะได้รับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเข้ามาและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม หากตัวผู้บริหารไม่มีการวัดผลหรือทำแผนการดำเนินงานอาจทำให้บริษัทปิดได้ ฉะนั้นผู้บริหารต้องมีการทบทวน และปรับปรุงงบประมาณส่วนต่างๆ ของบริษัททุกๆ เดือน เพื่อช่วยเป็นแนวทางในการทำงานของบริษัทได้เป็นอย่างดี ทำให้เป็นเตรียมความพร้อมกับสิ่งต่างๆ ได้ ในหลายๆ ด้าน

การสร้างองค์กรที่เชื่อมั่น
การที่ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับองค์กรต้องมีการวางแผนเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องด้านการจัดการ การเงิน หรือการเตรียมตัว แผนการใหม่ๆ เพื่อให้องค์กรได้เปรียบในทางตลาด องค์กรควรจะมีการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดเพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตัวผู้บริหารและพนักงานภายในองค์กร ซึ่งจะทำให้ให้พนักงานมีความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น ทั้งนี้ทั้งตัวผู้บริหารเองต้องมีการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม มีคุณธรรมและสามารถยอมรับความจริงและต้องสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้อื่นด้วย เพื่อให้ตัวผู้บริหารเองมีความเชื่อถือและมั่นคง ภายในอนาคตข้างหน้าถ้าหากมีความน่าเชื่อถือและมั่นคงแล้ว พนักงานก็พร้อมที่จะปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยกันตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ ได้ แต่ถ้าการทำให้พนักงานไม่มีความศรัทธาในตัวผู้บริหารแล้วจะไม่มีใครสนใจปัญหาพร้อมทั้งแก้ไขปัญหาใดๆ เลย
งานในเวลานี้
การเข้าในสถานการณ์ด้านต่างๆ ยังมากเท่าไร ก็สามารถทำงานร่วมกับสมาชิกหรือคนอื่นๆ ในบริษัทได้ดีขึ้นเท่านั้น เช่นเดียวกับการที่ลองวิเคราะห์มองว่ากระบวนการทำงานต่างๆ และนำมาปรับเปลี่ยนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจะทำให้บริษัทมีความเข้มแข็งมากขึ้นและพนักงานทุกคนจะได้ร่วมกัน สร้างประสบการณ์ในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และพร้อมพัฒนาตนเองเพื่อที่จะนำพาบริษัทไปสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้น

คุณลักษณะสำคัญหกประการของผู้นำในช่วงวิกฤติ
พฤติกรรมและลักษณะสำคัญของผู้นำที่จะทำให้บริษัทผ่านพ้นวิกฤติไปได้มีอะไรบ้าง ?
มีความซื่อสัตย์และความน่าเชื่อถือ จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตัวผู้บริหารต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงานภายในบริษัทหรือองค์กร และทำให้ให้พนักงานมีความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น ทั้งนี้ตัวผู้บริหารเองต้องมีการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม มีความซื่อสัตย์และสามารถยอมรับความจริงมีทัศนคติที่ดีต่อพนักงานและยอมรับฟังความคิดเห็นของส่วนรวม ตัวผู้บริหารเองก็จะได้รับความร่วมมือที่ดีและพนักงานก็พร้อมที่จะปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
มีความสามารถในการจุดประกาย สิ่งที่ให้ความสำคัญในเวลานี้พนักงานทุกคนกลัวว่าตัวเองต้องได้ออกจากงานเมื่อเจอกับสถานการณ์แบบนี้ และตัวผู้บริหารเองจะต้องพาพนักงานและองค์กรเดินต่อไปข้างฝ่าฟันอุปสรรค์ให้ได้และต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวพนักงาน เพื่อที่จะได้ช่วยกันหาแนวทางแก้ปัญหาและช่วยกันตัดสินใจโดยมุ่งไปสู่ความสำเร็จ
รับรู้สภาพความเป็นจริงแบบเรียลไทม์ ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนตัวผู้บริหารต้องมีการตรวจสอบส่วนต่างๆ และติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลาและนำข้อมูลที่ได้มาปรึกษากับส่วนต่างๆ ของบริษัท เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและสามารถได้แนวคิดหรือข้อมูลใหม่ๆ
มองโลกในแง่ดีตามความเป็นจริง การที่ตัวผู้บริหารจะมองโลกในแง่ร้ายหรือแง่ดีนั้นเป็นการยอมรับความเป็นจริงเท่าๆ กัน ตัวผู้บริหารต้องเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะแก้ไขได้หรือไม่ได้ ก็ตาม แต่ผู้บริหารต้องหาวิธีในการแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์ในขณะนี้ เพื่อแสดงความเป็นผู้นำหรือผู้บริหารที่ต้องกล้าเผชิญหน้ากับปัญหา
บริหารงานด้วยความเข้มข้น ผู้บริหารต้องเข้ามามีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูล และตัวผู้บริหารจะต้องนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้ มาปรึกษาหรือประชุมกับพนักงานของบริษัทเพื่อหาทาแก้ไขปัญหาหรือรับมือกับสถานการณ์ โดยผู้บริหารจะต้องเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเวลาประชุมตัวผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ฟังและผู้พูดและนำข้อมูลต่างๆ มาพูดให้ที่ประชุมได้รับรู้ เพื่อที่จะได้ช่วยกันคิด
มีความชำนาญที่จะทำเพื่ออนาคต ในสถานการณ์ที่ต้องรักษาสถานะทางการเงินเพื่อให้บริษัทอยู่รอด ผู้บริหารต้องกล้าที่จะหาวิธีการต่างๆ ให้บริษัทอยู่รอดในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงและผู้บริหารต้องทำการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดและตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นในบริษัทออก เพื่อรักษาบริษัทไว้