ก้าวสู่การเป็นเจ้าของกิจการ

จบแล้วจะทำอะไร... น่าจะเป็นคำถามง่ายๆ สำหรับ “เด็กจบใหม่” เพราะเชื่อว่า ถึงวันนี้แล้วทุกคนน่าจะต้องมี “คำตอบในใจ” อยู่แล้วว่า หลังจากก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว ชีวิตของเราจะก้าว ต่อไปทางไหน

หลายคนคงจะแอบเคืองกับคำถามง่ายๆ นี้อีกต่างหากว่า “แหม ถามมาได้ จบแล้วก็ต้อง ทำงานตามสายงานที่เรียนมาน่ะสิ” เพราะจบหมอ ก็ต้องเป็นหมอ จบวิศวะ ก็ต้องเป็นวิศวกร จบนิติฯ ก็ต้องเป็นทนาย จบนิเทศฯ ก็ต้องเข้าไปอยู่ในแวดวงสื่อสารมวลชน (จะให้ไปทำอย่างอื่น
ได้อย่างไร)
นอกจากนี้ ถ้าจะให้ดีก็ต้องได้ตำแหน่งดีๆ ในบริษัทใหญ่ๆ จะได้มีรายได้ที่มั่นคง (กินเงินเดือนสบายๆ) แถมยังมีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงานอีกต่างหาก

แต่อีกหลายคนเลือกที่จะ มี “ก้าวที่กล้า” มากกว่าการ เป็นมนุษย์เงินเดือน เพราะมี เป้าหมายแน่วแน่ที่จะเป็น “เจ้าของ กิจการ” ให้ได้ ด้วยเหตุผล (ดีๆ) ตั้งหลายข้อ ที่ทำให้คนรุ่นใหม่ ฝันอยากจะมีธุรกิจเป็นของ ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น

  • พราะคำว่า “เจ้าของกิจการ” มันเท่กว่าการเป็นลูกจ้างตั้งเยอะ แม้ว่า จะเป็นแค่กิจการเล็กกระจิริดแค่ไหนก็ตาม
  • เพราะคนที่เป็น “เจ้าของกิจการ” มีโอกาสรวยเร็วกว่ามนุษย์เงินเดือนชัวร์ๆ แล้วจะไปนั่งรับเงินเดือนอยู่ทำไม นอกจากนี้ บริษัทระดับยักษ์ใหญ่ของโลกปลดพนักงานกัน บ่อยๆ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า วันหนึ่งเราจะไม่อยู่ในกลุ่มที่ถูก “ลอยแพ”
  • เพราะ “เจ้าของกิจการ” ไม่ต้องตอกบัตรเข้าทำงาน อยากจะทำงานเมื่อไรก็ทำ ไม่อยากทำก็ไม่ต้องทำ

และไม่ว่า จะจบจากคณะอะไร สาขาวิชาไหน ทุกคน สามารถฝันถึงการเป็นเจ้าของกิจการได้ทั้งนั้น แถมยังมี “รูปแบบการเป็นเจ้าของกิจการ” ให้เลือกหลาย รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น “เจ้าของกิจการของตัวเอง” หรือ “เจ้าของกิจการผ่านการลงทุนในหุ้น” แม้ว่า ทั้งสองแบบจะได้ชื่อว่าเป็น “เจ้าของกิจการ” เหมือนๆ กัน แต่การเป็นเจ้าของกิจการแต่ละแบบก็มี ประเด็นที่ “ได้เปรียบ” และ “เสียเปรียบ” กันอยู่ เพราะ ฉะนั้นก่อนที่จะตัดสินใจเดินไปในทางไหนลองมาเปรียบเทียบ ข้อดีและข้อด้อยของการเป็นเจ้าของกิจการทั้งสองแบบกัน ก่อนดีกว่า

เจ้าของกิจการของตัวเอง

ข้อดี

  1. เป็นนายตัวเอง ถ้าถามว่า อยากเป็นเจ้าของกิจการ แบบไหน คนส่วนใหญ่น่าจะฝันถึงการ ก่อร่างสร้างกิจการด้วยสองมือน้อยๆ ของ เราเอง ประเภทลงมือทำเอง ขายเอง ได้กำไร (หรือขาดทุน) ด้วยตัวเอง เพราะเราได้เป็น “นายตัวเอง” ไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างใคร และ ถ้าธุรกิจเราประสบความสำเร็จ มันก็จะเป็น สุดยอดของความภูมิใจ เมื่อเราเป็นเจ้าของกิจการของตัวเอง ก็ทำให้เรามี “อำนาจ” ในการบริหารงาน อย่างเต็มที่ อยากจะคิด อยากจะทำอะไร ก็สามารถทำได้อย่างที่ต้องการ ซึ่งแน่นอนว่า ทุกอย่างที่เราคิดและลงมือทำจะต้อง หมายถึงประโยชน์สูงสุดของกิจการ
  2. บันไดสู่ความสำเร็จ แม้ว่า การเป็นเจ้าของกิจการงานจะหนัก และเหนื่อย จนทำให้หลายคนไม่กล้าที่จะ ก้าวออกมาจากกรอบของมนุษย์เงินเดือน มาลองสู้ดูสักตั้ง แต่การเป็นเจ้าของกิจการ ของตัวเองที่ต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ถือเป็นการทดสอบฝีมือ ฝึกทักษะด้านการ บริหาร ฝึกความอดทน และพัฒนาศักยภาพ ของเราแทบจะทุกด้าน เพราะฉะนั้นถ้าเปรียบเทียบกับเพื่อน ในวัยเดียวกัน “เจ้าของกิจการ” จะแกร่งกว่า “มนุษย์เงินเดือน” เยอะ
    นอกจากนี้ มหาเศรษฐีและนักธุรกิจ ชั้นนำของโลกส่วนใหญ่ก็เดินมาในแนวทางนี้ พวกเขามองเห็นโอกาสทางธุรกิจ และลงมือทำ โดยเริ่มจากธุรกิจเล็กๆ แล้วค่อยๆ ก่อร่าง สร้างตัวซึ่งอาจจะผ่านความล้มเหลวมาแล้ว ไม่รู้กี่ครั้ง แต่ทุกครั้งที่ล้มเหลว พวกเขาไม่ล้มเลิก จนทำให้เดินมาถึงวันที่ประสบความสำเร็จ
  3. มีโอกาสมั่งคั่งได้เร็วกว่า ใครบ้างไม่อยากรวย ไม่อยากมีฐานะมั่งคั่งและมั่นคง ซึ่งการเป็นเจ้าของ กิจการของตัวเอง เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความมั่งคั่งได้มากกว่าและ เร็วกว่าการเป็นลูกจ้างกินเงินเดือน เพราะกำไรที่ได้จากกิจการของเราเองก็ ไม่ต้องแบ่งใคร รับเงินเข้ากระเป๋าไปเต็มๆ เพราะฉะนั้นถ้าเรา “เจ๋งจริง” มีความสามารถในการทำธุรกิจจริง เราอาจจะ “สร้างตัว” ได้ภายในเวลาไม่กี่ปี เราอาจจะเป็น “เศรษฐี รุ่นใหม่” ได้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก ซึ่งแน่นอนว่า มันคุ้มค่าที่จะเหนื่อย

ข้อด้อย

  1. ลงทุนสูง สำหรับคนที่ไม่ได้โชคดีเกิดมามั่งคั่ง แต่กำเนิด การจะเริ่มต้นทำธุรกิจอะไรสัก อย่างอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องมีเงิน ลงทุนสูง และที่สำคัญสำหรับการเริ่มต้น ธุรกิจใหม่ที่อาจจะยังไม่สามารถขอสินเชื่อได้ ก็จำเป็นจะต้องมีเงินทุนสำรองมากพอที่จะ รองรับช่วงเวลาที่รายได้ยังไม่พอกับรายจ่าย ไม่ใช่แค่เงินลงทุนเท่านั้นที่อาจจะต้อง เทหมดหน้าตัก แต่คนที่คิดจะเป็นเจ้าของ กิจการอะไรสักอย่างก็ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในธุรกิจนั้นแบบทะลุปรุโปร่ง และต้องมี ความสามารถในการบริหารธุรกิจ
  2. หนักและเหนื่อย แม้ว่า คนที่ตั้งเป้าหมายเป็นเจ้าของ กิจการจะมองเห็น “ความมั่งคั่ง” และ “ความสบาย” อยู่ที่ปลายทาง แต่บอกได้ เลยว่า แต่ละก้าวก่อนที่จะไปถึงปลายทางนั้น ไม่สบายเลย เพราะต้อง “ลงแรง” แบบ ทุ่มสุดตัว และยังแบกรับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นไว้บนบ่าของตัวเองอีกด้วย สารพันปัญหาถาโถมเข้ามาให้แก้ไข ไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งเรื่องการบริหารงานและ การบริหารคน ซึ่งเรื่องคนนี่ล่ะจะวุ่นวาย แบบสุดๆ และไม่ต้องคิดถึงวันหยุดพักผ่อน วันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่ต้อง ถามถึง เพราะเจ้าของธุรกิจไม่มีสิทธิ์หยุด หรืออาจจะมีวันหยุดแต่หัวสมองไม่เคย ได้พักผ่อนอย่างจริงจัง ต้องคิดโน่นคิดนี่ อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ในบางธุรกิจ การหยุดงาน คือ ขาดรายได้
  3. มีโอกาสไปไม่รอดสูง ต่อให้คิดว่า ธุรกิจของเรามันจะ เจ๋งสักแค่ไหน แต่ให้เตรียมใจไว้ด้วยว่า มันมีโอกาสที่จะเจ๊งได้ และธุรกิจที่เกิดใหม่ ในโลกธุรกิจทุกวันนี้มีโอกาสที่จะเจ๊ง มากกว่าจะเจ๋ง เพราะการแข่งขันในทุก อุตสาหกรรมมีการแข่งขันรุนแรง แล้ว ธุรกิจเล็กๆ ที่ยังอ่อนแออยู่จะริอ่านไปสู้กับ เจ้าใหญ่ๆ ที่แข็งแรง ก็คงจะไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าไม่เจ๋งจริง และต่อให้เก่งกาจขนาดไหน และมองว่า มีโอกาสทางธุรกิจหลายอย่างที่น่าสนใจ แต่การทำธุรกิจให้ได้ดีและประสบความ สำเร็จคงจะทำได้แค่อย่างเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะในช่วงของการตั้งต้นธุรกิจ ที่เวลา เกือบทั้งหมดจะต้องทุ่มเทให้กับธุรกิจ เพื่อให้อยู่รอดและเติบโต
  4. ทำแล้วเลิกยาก ตอนเริ่มต้นทำธุรกิจที่คิดว่า ยากแล้ว ตอนอยากจะเลิกกิจการก็ยากไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเลิกเพราะขาดทุน หรือเลิกเพราะ อยากจะเปลี่ยนไปทำธุรกิจอื่น เพราะ การจะหาคนมา “ซื้อ“ หรือ “เซ้ง” กิจการ ไม่ได้ประกาศขายปุ๊บมีคนมาซื้อปั๊บ เพราะ อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าจะขายได้ คราวนี้ล่ะที่เป็นความเจ็บปวดที่แท้จริง ของเจ้าของกิจการ เพราะไหนจะต้องสูญ เงินที่ลงทุนไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเงินลงทุน ซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ วัตถุดิบ ไหนจะมี สินค้าค้างสต๊อก และบรรดาค่าเช่า ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ยังเดินหน้าต่อไปแม้ว่า เราจะหยุดเดินหน้ากิจการไปแล้ว

เจ้าของกิจการผ่านการลงทุนในหุ้น

ข้อดี

  1. เริ่มต้นง่ายใช้เงินน้อย การลงทุนในหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เหมือนกับการนำเงินไป “ลงขัน” กับเพื่อน หรือหุ้นส่วน เพียงแต่บริษัทหนึ่งไม่ได้มีคน ร่วมหุ้นแค่ “เราสองสามคน” แต่อาจจะมีคน มาร่วมหุ้นเป็นหมื่นเป็นแสนคน ทำให้คนที่มี เงินทุนน้อยๆ ก็สามารถเข้าไปเป็นหุ้นส่วน ของบริษัทได้
    เพราะฉะนั้นการเป็นเจ้าของกิจการ ผ่านการลงทุนในหุ้นไม่จำเป็นต้องมีเงิน เป็นแสนเป็นล้าน มีแค่หลักพันหลักหมื่น ก็ทำให้กลายเป็นเจ้าของกิจการได้แล้ว เพราะการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นในปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องยากและไม่ได้ใช้เงินเริ่มต้น มากนัก
  2. มีมืออาชีพช่วยบริหาร ถ้าการเป็นเจ้าของกิจการของตัวเอง มันต้องทุ่มทั้งทุนและทุ่มทั้งแรงแบบสุดๆ ลองเปลี่ยนมาเป็นเจ้าของกิจการผ่าน การลงทุนในหุ้นจะ “เหนื่อยน้อยกว่า” เพราะ เรามีผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถ และ ประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาบริหารงาน และจัดการสารพัดเรื่องวุ่นๆ ที่จะเกิดขึ้น ในการทำธุรกิจแทนเรา เพราะฉะนั้นเราก็มีหน้าที่ติดตาม ความก้าวหน้าของกิจการ โดยไม่ต้องไปปวดหัวกับการลงมือทำธุรกิจด้วยตัวเอง จากนั้น ก็เอาเวลาที่เหลือไปทำอย่างอื่น ทำให้ เราทำงานประจำ หรือทำงานที่เรารัก ไปพร้อมๆ กับการเป็นเจ้าของกิจการ ที่เราต้องการได้ไม่ยาก
  3. เลือกลงทุนธุรกิจที่ดีที่สุด ในขณะที่การเริ่มต้นธุรกิจเล็กๆ มีโอกาสที่จะไปไม่รอด แต่สำหรับบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีให้เลือกหลายร้อยบริษัท ในหลากหลายอุตสาหกรรม จะต้อง มีบริษัทที่แข็งแกร่ง ผ่านร้อนผ่านหนาว เป็นธุรกิจที่ดี สามารถต่อสู้กับบริษัทอื่นๆ ได้
    เราก็เพียงเลือกลงทุนในกิจการที่ดี มีโอกาสทำกำไรได้ดี มีอนาคต มีศักยภาพที่จะ เติบโต และที่สำคัญ คือ บริหารงานโดยผู้บริหารมืออาชีพ
    นอกจากนี้ ยังสามารถลงทุนได้หลายๆ กิจการ ด้วยเงินจำนวนไม่มาก เพราะการกระจาย การลงทุนไปในหลายๆ บริษัท หลายๆ อุตสาหกรรมจะเป็นการลดความเสี่ยงในการลงทุน เพราะเวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดจนทำให้ธุรกิจหนึ่งขาดทุน เราจะยังมีธุรกิจอื่นๆ ที่ยัง ทำกำไรได้อยู่
  4. สภาพคล่องสูง ในกรณีที่เราเป็นเจ้าของกิจการผ่าน การลงทุนในหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว อยากจะขายกิจการเปลี่ยนไปลงทุนอย่างอื่น ก็ง่ายนิดเดียว แค่ขายหุ้นของบริษัทเก่า แล้วไป ซื้อหุ้นของบริษัทใหม่ โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แต่ถ้าเป็นเจ้าของกิจการของตัวเองคงไม่ สามารถขายธุรกิจได้ง่ายแบบนี้

ข้อด้อย

  1. ไม่มีอำนาจบริหาร ถ้าการเป็นเจ้าของกิจการของตัวเองทำให้เรามีอำนาจ ในการบริหารจัดการทุกสิ่งอย่างเต็มที่ แต่สำหรับ การเป็นผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะถ้าเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงาน (เพราะเราปลอ่ ยให้ เป็นหน้าที่ของผู้บริหารมืออาชีพเรียบร้อยแล้ว)
    แต่ในฐานะผู้ถือหุ้น แม้จะเป็นแค่เสียงเล็กๆ เรา ก็ยังมีสิทธ์ิที่จะออกเสียงคัดค้านในการประชุมผู้ถือหุ้น และเสนอความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร แต่ต้อง ยอมรับว่า ในที่สุด “ผู้ถือหุ้นใหญ่” หรือ “เสียงส่วนใหญ่” จะมีน้ำหนักมากกว่า
    อย่างไรก็ตาม ถ้าลงทุนแล้วไปเจอผู้บริหาร ที่ ไม่ซื่อสัตย์ ไม่ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของบริษัท เราก็ เพียงแค่ขายหุ้นออกไปลงทุนกับบริษัทอื่นที่ดีกว่าแทน เพราะผู้บริหารที่ไม่มีธรรมาภิบาลก็อาจจะพาบริษัท ล่มจมได้
  2. ผลตอบแทนไม่สูง ผลตอบแทนที่ได้จากการเป็นเจ้าของกิจการ ผ่านการลงทุนในหุ้นอาจจะไม่มากเมื่อเทียบกับ กำไรที่จะได้จากการทำธุรกิจ (ถ้าประสบความ สำเร็จ) หรือบางครั้งราคาหุ้นที่เราถืออยู่อาจจะปรับ ลดลงได้ แม้ว่าจะเป็นกิจการที่ดี มีอนาคต เพราะ ราคาหุ้นขึ้นอยู่กับมุมมองของนักลงทุน ภาวะตลาด และสภาพเศรษฐกิจ แต่ในระยะยาวก็อาจจะได้ ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 10-15% ซึ่งเรียกว่าไม่น้อย เลยถ้าไปเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝาก และถ้าลงทุน ด้วยระยะเวลาที่นานพอผลตอบแทนจะงอกเงย ขึ้นเรื่อยๆ ก็นับเป็นทางเลือกที่ไม่ควรมองข้ามไป

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เข้าใจทั้งข้อดีข้อด้อยของการเป็น เจ้าของกิจการของตัวเอง หรือเจ้าของกิจการผ่านการลงทุน ในหุ้น มาเรียบร้อยแล้ว ก็คงเห็นว่าไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถ แต่การเป็นเจ้าของกิจการที่ประสบความสำเร็จต่างหากที่เป็น เรื่องยาก เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะก้าวเข้าสู่การเป็นเจ้าของกิจการ ที่ประสบความสำเร็จต้องศึกษาข้อมูลต่อไป